การตรวจ CBC
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhALuNPTcKSWFJADwqdnIEXCm8iz4ZV1kpXGdMsH3ywV_Y_ywtx7IjHn1g_WR9ncWnsLBygsilgQx1gbb2nhqtxTrkXRBO4JB5KKLWE6SXo7dUw3kYpOqNNrBV2XxDGC4Bwl1aJJNkz7iRj/s320/20.jpg)
การตรวจ CBC จะประกอบไปด้วยการตรวจต่างๆ ได้แก่ การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว (White
blood cell count; WBC count) การตรวจหาปริมาณฮีโมโกลบิน (Hemoglobin)
การตรวจหาปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit; Hct) การนับแยกชนิดของเซลล์เม็ดเลือดขาว (White blood cell
differentiation) การตรวจดูสัณฐานวิทยาหรือลักษณะรูปร่างของเซลล์เม็ดเลือดแดง
(Red blood cell morphology) และ คาดการณ์จำนวนเกร็ดเลือด (Platelet
estimation) รวมถึงความผิดปกติของเกร็ดเลือด
ประโยชน์ของการตรวจ ทำให้ทราบถึงสภาวะสุขภาพของร่างกาย
และความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ซึ่งจะมีประโยชน์ในการป้องกันและรักษาโรคต่างๆ เช่น
การตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัย
เพื่อค้นหาความผิดปกติในระยะแรกเริ่มจะเป็นประโยชน์สำหรับการป้องกัน และรักษาโรคได้ทันการ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhKtj9hCGC2sjAMxQo4-nSnbtaMlc_-h_00CtNOH_V8iPB0TOrnOY8whRG0LqJiJC6ucGt6Rtd5wCSJer9K9R6-7fKr3X8dj5jKQYKP4cIQP-dhWdQ_746X60-DEN8OH0mHnYBO-jh97pOU/s1600/21.jpg)
มีวิธีการตรวจ CBC มีดังนี้
1. วิธีตรวจโดยนำเลือดมาตรวจบนแผ่นสไลด์ และส่องกล้องจุลทรรศน์
และนำเลือดบางส่วนมาปั่นเพื่อหาค่าความเข้มข้นของเลือด(ปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่น)
ส่วนการตรวจเม็ดเลือดขาวก็นำมาผ่านกรรมวิธีทำลายเม็ดเลือดแดงแล้วจึงเอามาใส่สไลด์และส่องกล้องเพื่อนับปริมาณเม็ดเลือดขาวอีกครั้งหนึ่ง
ข้อดี
วิธีนี้เป็นวิธีที่แน่นอนเป็น conventional
method เป็นที่ยอมรับกันในวงการแพทย์ทั่วโลก
ข้อเสีย
คือ ใช้เวลา ในกรณีที่ต้องตรวจเป็นจำนวนมาก
เช่นในการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นหมู่คณะจะไม่สามารถกระทำได้เพราะใช้เวลาและมีรายละเอียดการทำค่อนข้างมาก
ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ
การวินิจฉัยบางโรคจำเป็นต้องใช้อายุรแพทย์ทางโลหิตวิทยา
2. วิธีตรวจด้วยการประมาณ เป็นวิธีที่ใช้หลักการเดียวกับวิธีที่1
แต่ตัดขั้นตอนที่ละเอียดและใช้เวลาลง โดยการ
นำเลือดมาปั่นหาค่าความเข้มข้นของเลือด และดูจากสไลด์เท่านั้น
ซึ่งปริมาณเม็ดเลือดขาวที่ได้ก็จะเป็นการกะประมาณ ค่าอื่นๆ เช่น
ปริมาณฮีโมโกลบินก็ไม่สามารถตรวจได้
ข้อดี
เพียงอย่างเดียวคือประหยัดค่าใช้จ่าย
ข้อเสีย
ไม่สามารถเป็นตัววินิจฉัยหรือคัดกรองได้ และมีโอกาสพลาดได้หากตรวจเป็นจำนวนมากๆ
และยังไม่มีหลักฐานว่าเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์
3. วิธีตรวจด้วยเครื่อง Fully automatic blood analyzer เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการตรวจ CBC ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ
ที่มีตัวอย่างเลือดต้องตรวจมาก
ข้อดี
คือ รวดเร็ว ภายใน 1
นาทีก็ได้ผลแล้ว และแน่นอน ผิดพลาดน้อยมาก ใช้เป็นการ screening
เบื้องต้นได้ เพราะสามารถตรวจองค์ประกอบของเลือดได้ละเอียดมากถึง 18-22
ค่า คือดูทุกแง่ทุกมุม แต่ก็ยังมีข้อจำกัดคือ
ถ้ามีผลการตรวจที่ผิดปกติต้องตรวจซ้ำโดยวิธีที่ 1 เพราะการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูรูปร่าง
ลักษณะ การติดสีของเม็ดเลือดนั้น คอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถทำแทนมนุษย์ได้
ข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายจะสูง 3-4 เท่า กว่า
วิธีที่ 1 และ 2
ข้อพิจารณาอย่างหนึ่งในการตรวจ
CBC คือ การตรวจนั้นจะต้องกระทำให้เสร็จสิ้นไม่เกิน 24
ชั่วโมง หลังเจาะเลือดมาแล้ว
เพราะแม้ว่าจะมีการใส่สารกันเลือดแข็งเพื่อรักษารูปร่างของเม็ดเลือดแล้วก็ตาม
ขนาดของเม็ดเลือดขาวที่ออกมานอกร่างกายจะค่อยๆ เล็กลง และแตกสลายไป
เมื่อมาทำการตรวจไม่ว่าจะเป็นวิธีใด ก็ตรวจได้สามารถรายงานค่าได้เหมือนกัน
แต่ค่าที่ได้จะไม่เป็นค่าที่แท้จริง เท่ากับสูญเปล่าโดยเปล่าประโยชน์ สาเหตุนี้เอง
โรงพยาบาลที่มีผู้ต้องตรวจ CBC เป็นจำนวนมากจึงนิยมใช้การตรวจด้วยวิธีที่
3 เพื่อรักษาคุณภาพ
แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าหลายเท่าตัวก็ตาม
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ประกอบด้วย
1. การตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดขาว
(White Blood Cell Count, WBC)
หรือ ปริมาณเม็ดเลือดขาวทุกชนิด ในเลือดรวมกัน
ค่าปกติ จะอยู่ ประมาณ 5000-10000 cell/ml
ถ้าจำนวน WBC ต่ำมาก อาจจะเกิดจากโรคที่มีภูมิต้านทานต่ำบางอย่าง
หรือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางประเภท หรือ โรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดผิดปกติ
เช่น Aplastic
Amemia หรือไขกระดูกฝ่อ ซึ่งจะทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดลดลงทั้งหมด
ถ้าWBC มีจำนวนสูงมาก อาจจะเกิดจากการติดเชื้อพวกแบคทีเรีย
แต่จะต้องดูผล การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Differential Count) ประกอบด้วย
แต่ถ้าจำนวน WBC สูงมากเป็นหลายๆ หมื่นเช่น สี่ห้าหมื่น
หรือเป็นแสน อันนั้นจะทำให้สงสัยพวกมะเร็งเม็ดเลือดขาว
แต่จะต้องหาดูพวกเซลล์เม็ดเลือดขาว ตัวอ่อนจากการแยกนับเม็ดเลือดขาว
หรือเจาะไขกระดูกตรวจอีกครั้ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) อาจจะมีจำนวนเม็ดเลือดขาวปกติ หรือ ต่ำกว่าปกติ ก็ได้เรียกว่า Aleukemic
Leukemia
2.
การนับแยกชนิดเม็ดเลือดขาว (Differential White Blood Cell
Count) จะรายงานออกมาเป็น
% ของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ ดังนั้นรวมกันทั้งหมดทุกชนิดจะต้องได้ 100
% พอดี ตัวสำคัญหลักๆ ดังนี้
2.1 นิวโทรฟิล (Neutrophils)
มีหน้าที่ทำลายเชื้อแบคทีเรีย
ถ้าร่างกายมีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือได้รับบาดเจ็บ จะทำให้นิวโทรฟิลสูงขึ้น ค่าปกติ ประมาณ 50-60% ถ้าสูงมากเช่น มากกว่า 80% ขี้นไป และโดยเฉพาะถ้า สูงและมีปริมาณWBC รวม
มากกว่าหมื่นขึ้นไป จะทำให้นึกถึงภาวะมีการติดเชื้อแบคทีเรีย
2.2 ลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) หรือเม็ดน้ำเหลือง มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย
ต่อสู้การติดเชื้อแบคทีเรียเรื้อรังและการติดเชื้อไวรัสเฉียบพลัน ถ้าพบ Lymphocyte ในปริมาณ สัดส่วนสูงขึ้นมามากๆ
โดยเฉพาะร่วมกับ ภาวะเม็ดเลือดขาว(WBC)โดยรวมต่ำลง
อาจจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะถ้ามี Lymphocyte ที่รูปร่างแปลกๆและตัวโตผิดปกติ
ที่เรียกกันว่า Atypical Lymphocyte จำนวนมากร่วมกับ
เกล็ดเลือดต่ำ และ Hct สูง จะพบได้บ่อยในผู้ที่เป็นไข้เลือดออก
2.3 โมโนไซต์ (Monocyte)
มีหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคที่มีขนาดใหญ่
ซึ่งเม็ดเลือดขาวชนิดอื่นทำลายไม่ได้ และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ด้วย
2.4 อีโอซิโนฟิล (Eosinophils) มีหน้าที่ทำลายสารพิษที่ทำให้เกิดอาการแพ้สารของร่างกาย
เช่น โปรตีน ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ เป็นต้น
และยังช่วยทำให้เลือดคงสภาพเป็นของเหลวอยู่ตลอดเวลาไม่แข็งตัว ปกติไม่ค่อยพบอาจจะพบได้ 1-2% จะพบมีค่าสูงได้บ่อยในภาวะภูมิแพ้
หรือมีพยาธิ
2.5 เบโซฟิล (Basophils)
มีหน้าที่สร้างสารเฮปาริน (Heparin) ซึ่งเป็นสารป้องกันมิให้เลือดในร่างกายแข็งตัว
และ สร้างฮีสตามิน(Histamine) ช่วยขยายผนังของหลอดเลือด
จะพบมีค่าสูงในภาวะภูมิต้านทานมีความไวต่อสิ่งกระตุ้น
3. การนับจำนวนเกร็ดเลือด (Platelet count) เกร็ดเลือดเป็นเซลเม็ดเลือด คล้ายเศษเม็ดเลือดแดง
เป็นตัวที่ช่วยในการหยุดไหล ของเลือด เวลาเกิดบาดแผล จะมีจำนวนประมาณ
แสนกว่าเกือบสองแสน ขึ้นไปถึงสองแสนกว่า การรายงานอาจจะรายงานเป็นจำนวน cell/ml เลยจากการนับ หรือ
จากการประมาณด้วยสายตาเวลาดูสไลด์ที่ย้อมดูเม็ดเลือด แล้วประเมินปริมาณคร่าวออกมาดังนี้
- Adequate หรือเพียงพอ
หรือพอดี หรือปกติ
- Decrease หรือ
ลดลงกว่าปกติ หรือต่ำกว่าปกติ มักจะพบในผู้ติดเชื้อพวกไวรัส เช่น ไข้เลือดออก หรือ
มีการสร้างผิดปกติ หรือ โรคเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic
Thrombocytopenic Purpura (ITP) ซึ่งทำให้มีเลือดออกง่าย และเกิดจ้ำเลือดได้ตามตัว
- Increase พบได้ในบางภาวะเช่นมีการอักเสบรุนแรง
มีเนื้องอกบางชนิดในร่างกายหรือ มีการเลือดฉับพลัน
จะมีการกระตุ้นให้ไขกระดูกเร่งสร้างเกล็ดเพื่อไปช่วยทำให้เลือดหยุด และอุดบาดแผล
นอกจากนี้ยังมีพวกที่เกล็ดเลือดสูงขึ้นมาเองโดยไม่มีสิ่งกระตุ้น ต่างๆ ก็ได้
เรียกว่า Essential
Thrombocytosis
4. การนับจำนวนเม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell
Count,RBC) หรือรูปร่างของเม็ดเลือดแดง
จะมีรายงานออกมาหลายรูปแบบ ตามลักษณะที่มองเห็น ซึ่งจะช่วยแยกโรคได้หลายอย่าง เช่น
บอกว่าเป็น ธาลลาสซีเมียได้คร่าวๆ หรือ บอกภาวะโลหิตจาง จากการขาดเหล็กเป็นต้น
และบางครั้ง อาจจะเห็นมาเลเรียอยู่ในเม็ดเลือดแดงด้วยก็ได้ จำนวนเม็ดเลือดแดงบอกถึงการสร้างและทำลายที่มีมากหรือน้อยได้
เช่น ค่าที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีเลือดไหลจากหัวใจลดลง หรือปอดมีการแลกเปลี่ยนก๊าซไม่พอ
หรือมีการสร้างเม็ดเลือดแดงมาก ส่วนค่าที่ลดลง
พบได้ในผู้ที่ขาดวิตามินบีสิบสองหรือบีหก หรือขาดธาตุเหล็ก การติดเชื้อเรื้อรัง
การเป็นโรคไตเรื้อรัง หรือเกิดจากการกดการสร้างของไขกระดูก
5 ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit,
Hct) หรือ เปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดงอัดแน่นเทียบกับปริมาตร
ของเลือดทั้งหมด ค่านี้ใช้บอกภาวะโลหิตจาง หรือ ข้น ของเลือด ค่าฮีมาโตคริต
ที่เพิ่มมากขึ้นจะพบได้ในภาวะช็อค ขาดน้ำอย่างรุนแรง
หรือในภาวะที่มีจำนวนเม็ดเลือดเพิ่มขึ้น
และพบค่าฮีมาโตคริตต่ำได้ในผู้เป็นโลหิตจาง มะเร็งเม็ดเลือด หรือภาวะมีเลือดออกรุนแรง
6. ปริมาณฮีโมโกลบิน
(Hemoglobin,Hb)
ฮีโมโกลบินมีหน้าที่นำออกซิเจนจากปอดไปสู่เซลล์
และนำคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์กลับไปฟอกที่ปอด ค่าฮีโมโกลบินที่ลดลงอาจเกิดจากการเสียเลือด
และการขาดสารอาหาร โลหิตจาง โดยเฉพาะการขาดธาตุเหล็กใช้บอกภาวะโลหิตจาง
เช่นเดียวกันกับ Hct ค่าปกติของ
Hb มักจะเป็น 1/3 เท่าของ Hct
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น