วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

การป้องกันภาวะโลหิตจางที่มีสาเหตุมาจากการขาดธาตุเหล็ก

ความต้องการธาตุเหล็กของร่างกาย

          ร่างกายมีธาตุเหล็กอยู่ทั้งหมดประมาณ 3-4 กรัม ธาตุเหล็กส่วนใหญ่ ประมาณ 70 % อยู่ในฮีโมโกลบิน ประมาณ 5 % อยู่ในองค์ประกอบอื่นในเซลล์ เช่น ไมโอโกลบิลในกล้ามเนื้อ เอนไซม์หลายชนิดในเซลล์ต่างๆ มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบด้วย ส่วนธาตุเหล็กที่เหลืออีก 25 % นั้นเก็บอยู่ในโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งสะสมเหล็กสำรอง ซึ่งจะค่อยๆ ปล่อยธาตุเหล็กออกมาเมื่อมีความต้องการใช้ธาตุเหล็ก การหมุนเวียนของธาตุเหล็กเกิดมากที่สุดในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง เพราะเม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 120 วัน
          ร่างกายมีการกำจัดเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุและมีการสร้างทดแทนทุกวัน แต่ธาตุเหล็กในเม็ดเลือดแดงที่ถูกกำจัดไม่ได้ถูกขับออกนอกร่างกาย มีกระบวนการรีไซเคิลเหล็กที่มีประสิทธิภาพธาตุเหล็กที่เสียไปในแต่ละวันจึงมีปริมาณน้อยเพียง 0.5-1 มิลลิกรัม โดยมากเสียไปจากเซลล์บุลำไส้ที่ลอกหลุดไปกับอุจจาระ แต่ผู้ที่มีการเสียเลือดจะสูญเสียธาตุเหล็กไปกับเลือดด้วย ผู้หญิงจะเสียเหล็กเพิ่มขึ้นระหว่างมีเลือดประจำเดือนอีกประมาณวันละ 0.5-1 มิลลิกรัม รวมเป็นเสียธาตุเหล็กวันละ 1-2 มิลลิกรัม
          ร่างกายต้องการธาตุเหล็กเพิ่มเติมเพียงเพื่อทดแทนธาตุเหล็กที่สูญเสียไป วันละ 1-2 มิลลิกรัม แต่ในภาวะที่ต้องสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น ร่างกายก็ต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นด้วย เช่น หญิงมีครรภ์เมื่ออายุครรภ์ 3 เดือนขึ้นไป ทารกในครรภ์มีการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งต้องดึงสารอาหาร และธาตุเหล็กไปจากแม่ หญิงมีครรภ์ในช่วงนี้ต้องการธาตุเหล็กวันละประมาณ 5–6 มิลลิกรัม ทารกและเด็กเล็กใน 2 ขวบ ปีแรกมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว ต้องการธาตุเหล็กปริมาณสูงหากเทียบกับน้ำหนักตัว

ธาตุเหล็กในอาหาร

            อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับหมู ตับวัว นม ไข่ ถั่ว เต้าหู้ น้ำลูกพรุน และผักใบเขียว เหล็กในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ถูกดูดซึมได้ดีกว่าประเภทพืชผัก ในนมมีเหล็กน้อยและมีสารพวกฟอสเฟตทำให้ดูดซึมเหล็กได้น้อย เหล็กที่มีในอาหารถูกดูดซึมได้ไม่มาก ดังนั้นผู้ใหญ่ปกติจึงควร รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กประมาณวันละ 10-15 มิลลิกรัม แม้ว่าร่างกายจะต้องการเพียงวันละ 1-2 มิลลิกรัม


          ปริมาณธาตุเหล็กที่มีในอาหารโดยทั่วไปมักเพียงพอต่อความต้องการธาตุเหล็กในผู้ใหญ่ปกติ สำหรับหญิงมีครรภ์ช่วงอายุครรภ์ 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งมีความต้องการธาตุเหล็กสูง ภาวะที่เสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็กได้แก่ ผู้ที่มีการเสียเลือดไปมาก หรือเสียเลือดทีละน้อยอย่างเรื้อรัง เช่น มีพยาธิปากขอในลำไส้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น