เม็ดเลือดแดง RED BLOOD CELL
เลือด เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งซึ่งมีสารระหว่างเซลล์ เป็นของเหลวเป็นตัวกลางติดต่อระหว่างเซลล์ของร่างกาย
และมีเม็ดเลือดเป็นเซลล์ล่องลอยอยู่ ในร่างกายมีเลือดอยู่ประมาณ 7 – 8 % ของน้ำหนักตัว ปริมาณของเลือดแตกต่างกันไปตาม อายุ ขนาด น้ำหนักตัว เพศ
และ สภาวะของสุขภาพ เลือดมีสีแดงเมื่ออยู่ในหลอดเลือดแดง
มีสีคล้ำลงเล็กน้อยเมื่ออยู่ในหลอดเลือดดำ มีความหนืดกว่าน้ำ 5 เท่า มีอุณหภูมิประมาณ 37.8๐C มีฤทธิ์เป็นด่างเล็กน้อย มีกลิ่นคาว
หน้าที่ของเลือด
คือ
1. ระบบการขนส่ง ออกซิเจน อาหาร ภูมิต้านทน โปรตีน ระบบป้องกันตัวเอง
การทำลายของเสีย
2. ระบบป้องกันด้วยระบบภูมิคุ้มกัน
3. ควบคุมความสมดุลของร่างกาย โดยการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
เลือดมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ
1.
เม็ดเลือด
(Blood
cell)
มีประมาณ 45 %
2.
พลาสมา
(Plasma) มีประมาณ 55
%
1. เม็ดเลือด (Blood cell) ประกอบด้วย
1.1 เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell : RBC หรือ
Erythrocyte)
เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างด้านหน้าเป็นรูปกลมคล้ายจาน
ตรงกลางมีรอยบุ๋มลึกลงไปคล้ายโดนัท แต่ไม่มีรูทะลุถึงกัน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง
ขนาดประมาณ 7
ไมครอนซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเซลล์อื่นๆ ของร่างกายมาก
เม็ดเลือดแดงจะถูกสร้างที่บริเวณไขกระดูกของร่างกายตามที่ต่าง
ๆ ไม่เท่ากัน ไขกระดูกที่มีประสิทธิภาพในการสร้าง ได้แก่ ไขกระดูกหน้าอก
กระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง และ กระดูกกะโหลกศีรษะ อัตราการสร้างเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับปริมาณออกซิเจนในเลือด
ถ้าออกซิเจนต่ำ หรือร่างกายสูญเสียเลือด
จะมีผลเร่งให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น
ภายในเม็ดเลือดแดงมีฮีโมโกลบิลเป็นสารสำคัญในการพาออกซิเจนที่รับจากปอดไปยังเซลล์ต่างๆ
ทั่วร่างกาย ฮีโมโกบิลประกอบด้วยส่วนประกอบที่เรียกว่า ฮีม (Heme) และส่วนที่เป็นโปรตีนซึ่งเรียกว่า
โกบิล (Globin) ฮีมมีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญ
ถ้าร่างกายขาดธาตุเหล็ก จะทำให้สร้างฮีมได้ไม่พอ
ซึ่งส่งผลต่อไปยังการสร้างฮีโมโกลบิน และการสร้างเม็ดเลือดแดง
ทำให้สร้างได้ปริมาณน้อย และคุณภาพของเม็ดเลือดแดงด้อยลง
เม็ดเลือดแดงจะมีอายุประมาณ
120 วัน เมื่อหมดอายุการใช้งานแล้วจะถูกทำลายที่ม้าม
โดยแยกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่เป็นธาตุเหล็กร่างกายจะเก็บไว้ใช้อีก และ ส่วนที่ไม่ใช่ธาตุเหล็กจะถูกนำไปที่ตับเพื่อขับออกทางน้ำดี
และบางส่วนถูกขับออกทางไต จำนวนเม็ดเลือดแดงในผู้ชายมีปริมาณมากกว่าผู้หญิง ในผู้ชายมีประมาณ
5 ล้านเซลล์ต่อเลือด 1 ลบ.ซม. ผู้หญิงมีประมาณ 4.5 ล้านเซลล์ต่อเลือด
1 ลบ.ซม.
หน้าที่ของเม็ดเลือดแดง
1. นำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ทั่วร่างกาย
2. นำคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเซลล์ไปสู่ปอด
3. ทำให้เลือดมีสีแดง
โดยฮีโมโกลบินรวมกับออกซิเจน
1.2 เม็ดเลือดขาว
(White Blood Cell : WBC หรือleukocyte, leucocyte)
เม็ดเลือดขาวมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียส
ไม่มีฮีโมโกลบิน มีการเคลื่อนไหวแบบการคืบตัวคล้ายอะมีบา สามารถลอดผ่านผนังเลือดฝอยได้
จำนวนเม็ดเลือดขาวปกติประมาณ 5,000 – 7,000 เซลล์ต่อเลือด 1 ลบ.ซม. จำนวนเม็ดเลือดขาวเปลี่ยนแปลงได้ตาม อายุ เพศ
และ สภาวะอื่นๆ เม็ดเลือดขาวมีการสร้างออกมาตลอดเหมือนเม็ดเลือดแดง มีอายุประมาณ 13
วัน อวัยวะสำหรับสร้างเม็ดเลือดขาว ได้แก่ ไขกระดูก ต่อมน้ำเหลือง
ต่อมทอมซิล ต่อมไทมัส เป็นต้น
หน้าที่เม็ดเลือดขาว
ทำลายเชื้อโรค
เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย เม็ดเลือดขาวจะถูกผลิตเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ
เพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำลายสิ่งแปลกปลอมโดยวิธี
1. การสะกดกลืนกิน (phagocytosis) เป็นวิธีทำลายเชื้อโรคโดยการกินและย่อยสลายเชื้อโรค
2. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
(immunization)
เม็ดเลือดขาวบางชนิดจะสร้างสารพวกโปรตีนที่มีคุณสมบัติต่อต้านสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรค
เม็ดเลือดขาว
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
คือ
1. เม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล เรียกว่า แกรนูไลไซท์
(Granulocyte) นิวเคลียส
แบ่งเป็นกลีบ เซลล์ค่อนข้างกลม ถูกสร้างที่ไขกระดูก แบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiFk3-SgRvc1skJXptZhOsIc9vj1EZU590GbIX1JBsTITjEiOTW5EX7w_LcdXCu-hK-8wDVt7pvns3U_oTEGRE7tpZ8LAOnH1ueO5rdGuyE38bkgqAO7LxtozD4gTMEpRLTNuzRaJuUCLKI/s320/8.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjaof4yR08wLDshCOa-TBxOJ8D3vUOrcl3o9oAKxYBu4LUuzpB6nhcYPStNJH0FHpWTTFx0mnU4c6Bo0mrOyImywzfTybO01UlJwNGqUMzIhWOl0C8AG87eb2avNymKVPY4SKFOzQhKCViC/s320/9.jpg)
1.3 เบโซพิล
(Basophil) มีประมาณ 0.5 – 1 % ของเม็ดเลือดขาว
มีนิวเคลียสสองกลีบ ทำหน้าที่ สร้างสารเฮปาริน (Heparin) ซึ่งเป็นสารป้องกันมิให้เลือดในร่างกายแข็งตัว
และ สร้างฮีสตามิน (Histamine) ช่วยขยายผนังของหลอดเลือด
2. เม็ดเลือดขาวชนิดไม่มีแกรนูล เรียกว่า อะแกรนูโลไซท์
(Agranulocyte) มีนิวเคลียสใหญ่
ค่อนข้างกลม มีกลีบเดียว สร้างจากต่อมน้ำเหลือง ต่อมไทมัส และต่อมทอนซิล
มีจำนวนน้อยมากที่สร้างจากไขกระดูก แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgGFxwJLR_Fz2OkmiAsjo1ey2PjUQmHNPulO-9MSXUtuGq1SpGGd2PxORG-6-v0Q4Q1qO88RYiMpyVloej19-VzqHJmQnVbUsUKRtuOX9hfXv_PLBfGS4Cn0VKP6FCqOv-7uaLdZSZBcnqY/s200/12.jpg)
2.2 โมโนไซท์
(Monocyte) มีนิวเคลียสใหญ่ รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกลืนกินเซลล์สูงกว่า
neutrophils ซึ่งสามารถย่อยเชื้อจุลชีพต่างๆ ได้มากกว่าถึง10เท่า
มีความสำคัญในกระบวนการซ่อมแซมเนื่องจากเป็นเซลล์ที่ผลิตโปรตีนต่างๆ
ในกระบวนการซ่อมแซมรอยแผล โปรตีนบางชนิดเป็นเอนไซม์ย่อยสลายเนื้อเยื่อ
เกร็ดเลือด มีรูปร่างกลมแบน
ไม่มีนิวเคลียส ขนาด 2-4 ไมครอน เล็กกว่าเม็ดเลือดขาว และ เม็ดเลือดแดง ปกติจะมีเกร็ดเลือดประมาณ 250,000
– 300,000เซลล์ต่อเลือด1ลบ.ซม.
|
หน้าที่ของเกร็ดเลือด
การรักษาความสมดุลภายในหลอดเลือด
(hemostasis) และ ช่วยในการอุดรอยรั่ว เมื่อเกิดการฉีกขาดของผนังเส้นเลือดได้ ช่วยทำให้เลือดแข็งตัว
โดยผลิตแอนไซน์ทรอมโบพลาสตินอ (Thromboplastin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว
ดังนั้นการมีปริมาณของเกร็ดเลือดที่มากเกินไปทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดได้ง่าย และนำไปสู่การเกิดก้อนลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดได้
ในทางตรงกันข้ามหากมีปริมาณของเกร็ดเลือดน้อยเกินไปก็จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติในกระบวนการห้ามเลือด
เกิดเลือดไหลหยุดช้า หรือเลือดไหลไม่หยุดได้
รูปแสดงกลไกการห้ามเลือดของร่างกายเมื่อเกิดการบาดเจ็บของเส้นเลือด
1. เมื่อเกิดการบาดเจ็บของเส้นเลือด
เกร็ดเลือดจะมาจับตัวกัน
2. เกล็ดเลือดจะปล่อยสารกระตุ้นให้เส้นเลือดหดตัว
ช่วยในการห้ามเลือด และ เกิด
เป็นลิ่มเลือดอุดรูรั่ว
หรือบริเวณที่ฉีกขาดไว้
3. ลิ่มเลือดนี้จะอุดรูรั่วไว้ จนกว่าร่างกายจะซ่อมแซมผนังเส้นเลือดจนหายเป็นปกติ
ขั้นตอนการแข็งตัวของเลือด
1. เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้นในร่างกาย
ผนังของเส้นเลือดฉีกขาด เซลล์จะถูกทำลาย เกร็ดเลือดจะเคลื่อนมายังบริเวณที่ฉีกขาดนี้
เนื้อเยื่อที่ถูกทำลายและเกล็ดเลือด จะปล่อยทรอมโบพลาสตินออกมา
2. ทรอมโบพลาสติน
จะไปเปลี่ยนโปรทรอมบินให้เป็นทรอมบินโดยใช้ แคลเซี่ยม
3. ทรอมบินจะเปลี่ยนไฟบริโนเจนในเลือดให้เป็นไฟบริน
ไฟบรินจะประสานกันเป็นร่างแหหดตัวและดึงผิวบาดแผลให้ชิดกัน และปิดบาดแผล
เลือดจะหยุดไหล
2. พลาสมา (Plasma) เป็นส่วนที่เป็นของเหลวในเลือด
มีสีเหลืองใส มีฤทธิ์เป็นด่างเล็กน้อย
หน้าที่ของพลาสมา ในพลาสมามีส่วนประกอบที่สำคัญและหน้าที่ มีดังนี้
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น